ระบบของประเทศไทยกับความเท่าเทียมต่อกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
ถ้าดูในภาพรวม มันก็จริงอยู่ที่ว่าเมืองไทยดูเป็นประเทศเปิดรับและให้ความเสรีกับกลุ่ม LGBTQ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการประกวดนางงาม transgender การผ่าตัดแปลงเพศที่มีคุณภาพ รวมไปถึงกฎหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศ แต่ลึกๆ แล้วระบบของประเทศไทยให้ความเท่าเทียมต่อกลุ่ม LGBTQ ถึงขั้นไหนกันแน่
เมื่อประมาณปี 2018 เราก็ได้เห็นเคสการปฏิเสธการจ้างงานของครูเคทกันไปแล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าครูเคทจะได้รับความเป็นธรรมจากการยื่นเรื่องในครั้งนั้น แต่ความไม่เท่าเทียมก็ยังคงอยู่ในสังคม จากบทความของ Vice ครูเคทเล่าว่า “As an insider, I feel like [Thai society] allows LGBT people to express their identity, but they [do not support it] by policy or by law. Stigma and discrimination [still exists against] the LGBT [community]” หรือ “ในฐานะที่เป็นคนใน ฉันรู้สึกว่าสังคมไทยยอมให้กลุ่มคน LGBT ปลดปล่อยความเป็นตัวตนของพวกเขา แต่กลับไม่สนับสนุนพวกเขาในทางกฎหมายและนโยบาย การไม่เป็นที่ยอมรับและการแบ่งแยกยังคงเกิดขึ้นกับสมาชิกกลุ่ม LGBT”
ตัวอย่างความไม่เท่าเทียมในทางกฎหมายและนโยบาย สามารถเห็นได้จาก พ.ร.บ. คู่ชีวิต ที่เหล่า activist มองว่ามันเป็น “fake equality” หรือ “ความเท่าเทียมจอมปลอม” เนื่องจากคู่รัก LGBTQ จะยังไม่ได้สิทธิบางประการที่คู่รัก heterosexual ได้ นอกจากนั้นก็คือ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมทางเพศ (ที่คนส่วนมากไม่รู้ว่ามี) ที่มีความคลุมเครือ การใช้ถ้อยคำที่ไม่ถูกต้อง และช่องโหว่
It goes without saying ที่คน LGBTQ ทั้งโลกก็ยังพยายามเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม แต่เราสามารถช่วยพวกเขาได้ถึงเราจะไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม LGBTQ ก็ตาม ซึ่งก็คือการเป็น ally และสำหรับคนที่อยากศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น เราแนะนำให้ฟอล @thatmadwomann ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ รวมไปถึง body positivity และ self-love ต่างๆ
- ขอบคุณทุกคนที่อ่านน้า ถ้ามีข้อคิดเห็นหรือข้อแนะนำอะไร ติดต่อมาได้ที่นี่เล้ย labs@longdo.com
- นอกจากเรื่องนี้แล้ว เรายังมีเรื่องอื่นของสัปดาห์นี้อีกนะ
- ยังไม่พอใช่ไหม? ไปดูคอนเทนต์รายสัปดาห์อื่นๆ ของเรากันที่นี่สิ ?